“เจมส์ เว็บบ์” พบ “นาโนควอตซ์” ในชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

“ซิลิกา” (Silica) เป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่พบได้ทั่วไปบนโลก มักพบได้ตามหาดททราย และใช้ในการผลิตแก้วได้ ล่าสุด นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ (JWST) ตรวจพบผลึกควอตซ์เล็ก ๆ ที่มีซิลิกา ในชั้นบรรยากาศของ “WASP-17b” ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ร้อนจัด

นี่นับเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบธาตุซิลิกาในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ โดยพบในลักษณะของผลึกที่มีขนาดเล็กมาก เพียง 10 นาโนเมตรเท่านั้น จึงเรียกกันง่าย ๆ ว่า นาโนควอตซ์

ภาพใหม่จาก “เจมส์ เว็บบ์” อาจนำไปสู่การค้นพบวัตถุทางดาราศาสตร์ชนิดใหม่

การค้นพบสิ่งมีชีวิตนอกโลก อาจเป็นไปได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

 “เจมส์ เว็บบ์” พบ “นาโนควอตซ์” ในชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

นักบินอวกาศกลับถึงโลก หลังเกิดความผิดพลาดจนติดอยู่ในอวกาศ 1 ปี

นักวิทย์ค้นพบ WASP-17b ครั้งแรกในปี 2009 เป็นดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 1,300 ปีแสง มีปริมาตรมากกว่าดาวพฤหัสบดีถึง 7 เท่า เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์นอกระบบที่ใหญ่ที่สุดที่นักดาราศาสตร์รู้จักคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นักวิจัยตรวจพบอนุภาคนาโนควอตซ์ในเมฆระดับสูงของดาวเคราะห์ โดยใช้กล้องอินฟราเรดระยะกลางของ เจมส์ เว็บบ์

เดวิด แกรนต์ จากมหาวิทยาลัยบริสตอล หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “เราตื่นเต้นมาก เรารู้จากการสังเกตการณ์ของฮับเบิลว่าจะต้องมีละอองลอย หรืออนุภาคเล็ก ๆ ที่ก่อตัวเป็นเมฆหรือหมอกควัน อยู่ในชั้นบรรยากาศของ WASP-17b แต่เราไม่ได้คาดหวังว่ามันจะเกิดขึ้นจากควอตซ์”

ที่นักดาราศาสตร์ตื่นเต้นขนาดนี้เป็นเพราะว่า โดยทั่วไปแล้ว แร่ธาตุที่อุดมไปด้วยซิลิคอนและออกซิเจน หรือที่เรียกว่า “ซิลิเกต” (Silicate) มีอยู่มากมายบนโลก ดวงจันทร์ และวัตถุหินอื่น ๆ ในระบบสุริยะ ซิลิเกตยังพบได้ทั่วไปในกาแล็กซีทางช้างเผือก จนถึงขณะนี้ เม็ดซิลิเกตที่ตรวจพบในชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์นอกระบบนั้นมักจะมีแมกนีเซียมเป็นหลัก ไม่ใช่ควอตซ์ ซึ่งเกิดจากซิลิกาบริสุทธิ์

ฮันนาห์ เวคฟอร์ด อาจารย์อาวุโสด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยบริสตอล ผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่า “เราคาดหวังอย่างเต็มที่ว่าจะได้เห็นแมกนีเซียมซิลิเกต แต่สิ่งที่เราเห็นน่าจะเป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งเหล่านั้น นั่นคืออนุภาคเม็ดเล็ก ๆ ที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดซิลิเกตขนาดใหญ่ที่เราตรวจพบในดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่เย็นกว่าและดาวแคระน้ำตาล”

การค้นพบนี้อาจทำให้นักวิจัยเข้าใจการสร้างสภาพแวดล้อมของดาวเคราะห์ที่แตกต่างจากที่เรารู้จักบนโลกอย่างมาก

Wasp-17b ใช้เวลา 3.7 วันบนโลกในการโคจรรอบดาวฤกษ์หนึ่งรอบ นักดาราศาสตร์ศึกษามันขณะที่มันเคลื่อนผ่านหน้าดาวฤกษ์ หลังจากสังเกตการณ์เป็นเวลา 10 ชั่วโมง ทีมวิจัยได้ค้นพบร่องรอยที่บ่งบอกว่ามีอนุภาคนาโนควอตซ์อยู่ในชั้นบรรยากาศของมัน

ผลึกควอตซ์มีแนวโน้มว่าจะมีรูปร่างหกเหลี่ยม แต่ละอันมีขนาดเพียงหนึ่งในล้านของเซนติเมตร ซึ่งเล็กมาก

แกรนต์บอกว่า “WASP-17 b นั้นร้อนจัด ประมาณ 1,500 องศาเซลเซียส และความดันที่ผลึกควอตซ์ก่อตัวสูงในชั้นบรรยากาศเป็นเพียงประมาณหนึ่งในพันของสิ่งที่เราสัมผัสบนพื้นผิวโลก ในสภาวะเหล่านี้ ผลึกแข็งสามารถก่อตัวได้โดยตรงจากก๊าซ โดยไม่ต้องผ่านสถานะของเหลวก่อน”

ดาวเคราะห์ WASP-17 b มีลักษณะการโคจรรอบโดยฤกษ์โดยที่จะหันหน้าด้านหนึ่งเข้าหาดาวฤกษ์ตลอด ทำให้ด้านหนึ่งของมันจะร้อนเสมอ ส่วนด้านกลางคืนนั้นก็จะเย็นกว่าเสมอ

แม้ว่าเมฆสามารถล่องลอยไปรอบดาวเคราะห์ได้ แต่เมฆเหล่านั้นอาจระเหยกลายเป็นไอเมื่อเจออากาศร้อน ซึ่งอาจส่งผลให้อนุภาคควอตซ์เกิดการหมุนวนได้ แกรนต์กล่าวว่า “ลมสามารถพัดพาอนุภาคควอตซ์เล็ก ๆ เหล่านี้ไปรอบ ๆ ด้วยความเร็วหลายพันกิโลเมตรต่อชั่วโมง”

การตรวจจับที่ละเอียดอ่อนของ เจมส์ เว็บบ์ ช่วยให้นักวิจัยมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และสภาพอากาศบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

เรียบเรียงจาก CNN / NASA

ภาพจาก NASA, ESA, CSA, and Ralf Crawford (STScI)

ราชกิจจาฯเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด 11 แกนนำพันธมิตรฯ

กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566

ประกาศเตือนฉบับที่ 4 พายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้น!