เชื่อว่าใครที่เข้ามาอ่านรีวิวในครั้งนี้น่าจะมั่นใจได้ว่าเป็นแฟนคลับของซีรีส์โปเกมอนไปแล้วกว่าครึ่ง และยิ่งไปกว่านั้นพวกคุณจะต้องเป็นคนที่ชื่นชอบเจ้าสายฟ้าอย่างพิคาชูด้วย หรือถ้าไม่ใช่ก็ต้องเป็นคนที่กำลังมองว่าอุปกรณ์เสริมที่จะเพิ่มความโดดเด่นไม่เหมือนใครในแบบที่เข้ากับพื้นที่ทำงานได้อย่างลงตัว ฉะนั้นเพื่อไม่ให้เสียเวลาเราจะพาทุกคนไปพบกับอุปกรณ์เสริมด้านเสียงอย่าง Razer Leviathan V2 X และ Razer Kraken V3 X Pokemon Edition สำหรับใครที่หลงรักเพื่อนตัวน้อยไม่ควรพลาด
Design
มาเริ่มกันที่ซาวว์บาร์อย่าง Razer Leviathan V2 X Pokemon Edition แน่นอนว่าพื้นฐานหลักของรุ่นที่นำมาใช้งานทุกคนน่าจะทราบกันเป็นอย่างดีว่าคือรุ่นไหน (แน่สิเพราะชื่อรุ่นก็บอกไปขนาดนั้นแล้ว !) สิ่งที่ถูกนำมาปรับปรุงเพื่อเพิ่มความพิเศษของซาวด์บาร์รุ่นนี้คือการใช้งานธีมสีของเพื่อนตัวน้อยสีเหลืองของเรานั่นเอง
เฟรมรอบตัวเครื่องใช้งานสีหลักเป็นสีเหลือง แต่ละจุดจะมีการใส่กิมมิคลงไปอย่างบริเวณด้านบนมีการใส่ลวดลายของพิคาชูกำลังวิ่ง ด้านซ้ายเป็นสัญลักษณ์สายฟ้าอันเป็นธาตุของเพื่อนตัวน้อยเรา และด้านขวาเป็นภาพที่หากใครได้เห็นจะต้องจำได้ว่าเป็นการแสดงออกของพิคาชูยามที่รู้สึกสงสัยหรือประหลาดใจคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ด้านหน้าของตัวเครื่องเป็นพื้นที่สำหรับแหล่งกำเนิดเสียงโดยเฉพาะไดรเวอร์ที่ใช้งานเป็นแแบบFull-range ทำให้คุณภาพเสียงที่ได้เป็นเก็บมาได้ครบทุกย่านความถี่ ประกอบกับมีpassive radiators ด้วยกันทั้ง 2 ข้างทำให้เสียงมีความนุ่มนวลและชัดเจนในทุกย่านโดยเฉพาะกับย่านความถี่ต่ำ ทำให้ได้เสียงทุ้มที่แท้จริงออกมาได้
ด้านบนมาพร้อมกับปุ่มควบคุมทั้งหมด 5 ปุ่มด้วยกัน ไล่เรียงกันไปจากด้านซ้ายเป็นปุ่มสำหรับเลือกแหล่งที่ใช้ในการเล่นสื่อระหว่าง USB-C กับ Bluetooth ถัดมาเป็นปุ่มสำหรับเปิด/ปิดใช้งาน Bluetooth รวมไปถึงการเชื่อมสัญญาณกับอุปกรณ์อื่นใช้ปุ่มนี้เช่นกัน ตรงกลางเป็นปุ่มเปิด/ปิดตัวเครื่อง ถัดมาอีก 2 ปุ่มคือเพิ่มและลดเสียง สามารถกดค้างได้ทั้งคู่
ถัดมาที่ด้านล่างเห็นแผงสีเงินยาว ๆ ไม่ต้องตกใจไปนั่นคือพื้นที่สำหรับแสดงผลไฟ RGB ในที่อยู่ในเจ้าเครื่องรุ่นนี้ มาพร้อมกับพื้นที่การแสดงผลของไฟ 14 โซนสามารถปรับได้ในแต่ละโซนผ่านซอฟต์แวร์Razer Chroma ส่วนที่สัมผัสกับพื้นผิวเป็นยางทั้งสองข้างทำให้ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกขยับโดยไม่ตั้งใจหากไม่ได้พยายามที่จะขยับหรือเลื่อนด้วยตัวเอง ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าจะยึดติดกับพื้นผิวได้เป็นอย่างดี
สุดท้ายเป็นด้านหลังของซาวด์บาร์มาพร้อมกับส่วนที่ทำให้เราได้เห็นไดรเวอร์ทั้งสองด้าน ขณะที่ตรงกลางเป็นพอร์ต USB-C สำหรับมอบพลังงานให้กับเครื่อง ต้องย้ำกันให้เข้าใจว่าซาวด์บาร์รุ่นนี้ไม่ได้มีแบตเตอรี่ภายในตัว ฉะนั้นหากต้องการใช้งานจำเป็นที่จะต้องมีแหล่งพลังงานสำหรับมอบให้เครื่องด้วยจะพีซีหรือแบตเตอรี่สำรองได้ทั้งหมด
ข้ามมาดูในส่วนของหูฟังอย่าง Razer Kraken V3 X Pokemon Edition กันบ้าง แบบเดียวกันกับที่เราได้กล่าวถึงตัวของซาวด์บาร์ สำหรับหูฟังได้พื้นฐานมาจากตัว Kraken V3 X ของทางแบรนด์แต่มีการนำมาใส่ธ๊มพิเศษสำหรับผู้ที่หลังรักพิคาชูโดยเฉพาะ
ธีมสีทั้งหมดรอบตัวหูฟังใช้งานสีเหลืองอันเป็นเอกลักษณ์ของพิคาชูตัดกับสีดำที่อาจจะพอบอกได้ว่า เป็นการเลือกสรรค์ที่ลงตัวโดยจุดที่ใช้งานสีเหลืองจะเป็นบริเวณครอบด้านนอกของ earcup ด้านในของ earpad และบริเวณด้านในของ headband
กิมมิคที่ถูกใส่เข้ามาภายในหูฟังรุ่นนี้ไล่เรียงกันไปบริเวณด้านบนในที่ใช้งานสัญลักษณ์โปเกบอลทั้งสองข้าง ถัดลงมาเล็กน้อยเป็นสัญลักษณ์สายฟ้าที่แสดงให้เห็นถึงพิคาชู
ขอบด้านนอกของ earcup เป็นสัญลักษณ์ของพิคาชูทั้งสองด้าน แน่นอนว่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่สำหรับการแสดงผลของไฟ RGB ที่ปรับแต่งได้เช่นกันด้านใน earpad เป็นสัญลักษณ์สายฟ้าเช่นเดียวกัน
ในส่วนของปุ่มที่มีภายในหูฟังมีในส่วนของปุ่มเปิด/ปิดไมโครโฟน และพื้นที่สำหรับการปรับระดับเสียงเท่านั้น หูฟังรุ่นนี้ไม่สามารถที่จะทำการถอดสายหรือไมโครโฟนได้ทำให้อาจจะเหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ของตัวเองเท่านั้น การนำไปใช้งานที่อื่นทำได้แต่อาจไม่สะดวกมากนัก
ไมโครโฟนบริเวณปลายใช้งานเป็นสีเหลืองไม่ได้มีตัวบูมมาให้แต่สามารถให้เสียงที่ใช้งานได้
การปรับระดับของหูฟังสามารถที่จะปรับได้สูงสุด 8 ระดับ รองรับการใช้งานร่วมกับผู้ใช้งานในทุกวัย
Software
ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่ใช้งานเราสามารถที่จะแบ่งการเข้าถึงได้ด้วยกัน 2 รูปแบบคือหากเป็นการใช้งานผ่านพีซีสามารถที่จะใช้งานซอฟต์แวร์อย่าง Razer Synapse เป็นตัวกลางในการปรับแต่งได้ แต่หากเป็นการใช้งานเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนสามารถใช้งาน Razer Audio เพื่อเข้าถึงอิสระในการใช้งานได้เช่นกัน
มาเริ่มกันที่ส่วนของ Razer Synapse กับเจ้า Razer Leviathan V2 X Pokemon Edition กันก่อน ตัวซอฟต์แวร์สามารถที่จะตรวจจับและแสดงผลข้อมูลเป็นของรุ่นได้ตรง แบ่งเป็น 3 เมนูหลักประกอบไปด้วย Sound ที่สามารถปรับแต่งรายละเอียดของเสียงได้ครบถ้วน Lightning ปรับระดับความสว่างและการแสดงผลไฟ RGB สุดท้ายคือ Power ที่ช่วยในเรื่องของการปรับโหมดให้ลำโพงใช้พลังงานหรือเข้าสู่โหมด standby ได้
ขณะที่ Razer Kraken V3 X Pokemon Edition จะมีเมนูให้ปรับแต่งได้เพียงแค่ 2 ส่วนเท่านั้นคือ Sound และ Lightning เท่านั้น แต่สำหรับใครที่ซื้อไปจะมีซอฟต์แวร์สำหรับเปิดประสบการณ์ 7.1 ได้แต่ต้องทำการลงทะเบียนเพื่อเปิดใช้งานก่อน
นอกจากนี้ยังมีส่วนเสริมอย่าง Razer Chroma Studio ที่ช่วยทำให้ปรับแต่งการแสดงผลของไฟ RGB ได้มากยิ่งขึ้น อย่างเช่นการเลือกโซนในการแสดงผลของไฟสามารถที่จะแยกจัดการในแต่ละพื้นที่ได้โดยตรง ใครจะให้แสดงผลเป็นสีรุ้งก็ยังสามารถที่จะปรับแต่งได้ เนื่องจากตัวอุปกรณ์รองรับนั่นเอง
ในส่วนของ Razer Audio ที่ใช้จัดการภายในสมาร์ทโฟนจะมีเฉพาะซาวด์บาร์เท่านั้นที่รองรับการใช้งาน โดยสามารถปรับแต่งได้ใกล้เคียงกับในส่วนของพีซี ไม่ว่าจะเป็นไฟ RGB หรือ Equalizer
Experience
สำหรับประสบการณ์ใช้งานที่เราได้สัมผัสกับอุปกรณ์ทั้งสองต้องบอกว่าเป็นอะไรที่น่าประทับใจไม่น้อยมาเริ่มกันที่ตัวของ Razer Leviathan V2 X Pokemon Edition ซาวด์บาร์ตัวสุดที่สามารถมอบประสบการณ์ในด้านเสียงได้เป็นอย่างดี สารภาพเลยว่าไม่เคยได้ลองซาวด์บาร์ของทาง Razer มาก่อนความคิดแรกคือมันไม่น่าจะดีและคงไม่น่าจะทดแทนลำโพงที่เราคุ้นเคยได้แต่ต้องยอมรับว่าคิดผิด
ซาวด์บาร์รุ่นนี้ให้รายละเอียดของเสียงออกมาได้น่าประทับใจหากเราวัดกันที่การใช้งานพื้นฐานโดยที่ไม่ผ่านการปรับแต่ง เสียงจะค่อนข้างออกไปทางติดทุ้มเล็ก ๆ แต่ไม่ได้ทุ้มแบบเสียงไม่พุ่งออกมาภายนอกลำโพง เป็นทุ้มที่มีคุณภาพและความนุ่มนวลในตัว ซึ่งต้องยกให้กับการใช้งานไดรเวอร์แบบFull-range พร้อมpassive radiators 2 ตัวส่งผลให้เรื่องนี้พอจะบ่งบอกความจริงจังในการทำซาวด์บาร์ของทาง Razer ได้เป็นอย่างดี
การปรับแต่งเสียงผ่าน Razer Synapse ทำได้ง่าย อย่างไรก็ตามข้อสังเกตคือน่าจะมีการเพิ่มปุ่มปรับโหมดการทำงานของเสียงเข้าไปเสียหน่อยเนื่องจากมีปุ่มมาให้แล้วถึง 5 ปุ่ม หากเพิ่มหรือสอดแทรกเข้าไปในฟังก์ชันการทำงานสักปุ่มน่าจะดีไม่น้อย แต่เรื่องนี้พอจะเข้าใจได้ว่าหากปรับแต่งไปแล้วครั้งหนึ่งเราก็คงจะไม่ได้เข้าไปยุ่งกับการจัดการอีกเลย
ในแง่ของการตอบสนองการสลับไปมาระหว่างโหมด USB-C และ Bluetooth ทำได้แบบแทบจะไร้รอยต่อ เมื่อเรากดปุ่มเพื่อเปลี่ยนไปใช้งาน Bluetooth ตัวของซาวด์บาร์ทำการปรับโหมดได้รวดเร็ว การเชื่อมสัญญาณเข้ากับอุปกรณ์ที่จะใช้งานครั้งแรกทำได้ไม่ยุ่งยากเพียงกดที่ปุ่ม Bluetooth บนเครื่องและเลือกชื่อของอุปกรณ์เป็นอันเรียบร้อย
การกดปุ่มเพิ่ม/ลดเสียงส่วนตัวแล้วมองว่าปุ่มทำออกมาได้อยู่ในระดับมาตรฐานคือเหมือนมีโหมดป้องกันการกดผิดพลาดเอาไว้ด้วย เนื่องจากที่ลองมาหลายรอบพบว่าหากเป็นการกดที่ดูจะไม่ได้ออกแรงมากนัก แม้จะมีเสียงว่ากดปุ่มไปแล้วก็ตามแต่ระดับเสียงไม่ได้ถูกปรับตามไปด้วย ทำให้ต้องออกแรงกดเล็กน้อยถึงจะสามารถปรับระดับได้ การกดค้างจะเป็นการเพิ่ม/ลดเสียงแบบต่อเนื่องแต่จะไม่ได้พุ่งรวดเร็ว เป็นการไล่ระดับไปเรื่อย ๆ
ด้วยความที่เป็นซาวด์บาร์จึงอาจจะต้องยอมรับว่าการเล่นเกมแม้จะถูกปรับแต่งและถือแบรนด์ Razer เอาไว้ แต่อาจไม่ได้ให้รายละเอียดที่คมและเก็บได้ครบทุกทิศทางขนาดนั้น แน่นอนว่าต้องไม่ลืมว่านี่คือซาวด์บาร์เป้าหมายของอุปกรณ์ประเภทนี้คือความออลอินวันที่สามารถใช้งานได้รอบด้าน งานที่เหมาะที่สุดคือการใช้เพื่อความบันเทิงในระดับทั่วไปไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลงหรือรับชมสิ่งที่สนใจเสียมากกว่า
มาดูกันที่ Razer Kraken V3 X Pokemon Edition ที่ต้องบอกว่านี่แหละของดีย์ ! เนื่องจากมีการให้ลักษณะของเสียงที่ออกมาค่อนข้างดังและครบทุกรายละเอียด เราได้ทดลองด้วยการเปิดระดับเสียงของหูฟังไว้ที่เพียง 20 แต่นั่นก็เพียงพอแล้วสำหรับหูคนทั่วไปที่จะรับระดับความดังของเสียงเอาไว้ได้ ฉะนั้นเรื่องความดังไม่ต้องห่วงไม่มีปัญหาแน่นอน
นอกจากนี้รายละเอียดของเสียงที่ได้ออกมายังครบทุกทิศทางเนื่องจากมีไดรเวอร์ขนาด 40 มิลลิเมตรพร้อมส่วนที่ถูกปรับแต่งมาให้ครบทุกย่านเสียงไม่ว่าจะเป็น Mid, Treble และ Bass ขณะเดียวกันยังรองรับโหมด 7.1 ที่จะเพิ่มรายละเอียดของเสียงเวลาที่เล่นเกมอย่างเช่น FPS ได้คมชัดและถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ขณะที่ไมโครโฟนมาพร้อมกับเทคโนโลยีของแบรนด์อย่างRazerHyperclear Cardioid ช่วยลดเสียงรบกวนภายนอกและเพิ่มระดับเสียงพูดของเราขณะใช้งานให้มีความคมชัดมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ในแง่ของการสวมใส่รู้สึกว่าวัสดุที่ใช้งานแม้ว่า earpad จะเป็นแบบ memory foam ที่ทำออกมาได้ดีในแง่ของความนุ่มและไม่กดหูและหัวของผู้ใช้งาน แต่ตัว earpad ค่อนข้างที่จะลื่นไม่น้อย หากไม่มีการปรับระดับที่เหมาะสมจะพบว่าส่วนของด้านล่างมีช่องว่าง ทำให้หากใช้งานในห้องที่มีลมพัดผ่านไม่ว่าจะจากธรรมชาติหรือจากเครื่องจะมีลมพัดเข้ามาภายในหูของเราได้
ไฟ RGB ของทั้งสองอุปกรณ์สามารถที่จะปรับให้แสดงผลแบบเดียวกันได้ผ่านซอฟต์แวร์อย่าง Chroma Studio ทำให้เราจะได้รับการแสดงผลแบบเดียวกัน หากใช้งานพร้อมกันครบชุดรับรองได้เลยถึงความงดงามที่ลงตัว
Conclusion
Razer Leviathan V2 X และ Razer Kraken V3 X Pokemon Edition เป็นหนึ่งในอุปกรณ์เสริมที่ต้องบอกว่าหากใครที่ชื่นชอบเจ้าพิคาชูจะต้องหลงรัก เนื่องจากคุณภาพที่ถูกสะท้อนออกมาในงานออกแบบถูกคิดมาอย่างลงตัว เช่นเดียวกับคุณภาพของเสียงที่หากใครที่อยากได้ของสะสมที่ใช้งานได้จริงไม่ควรพลาด สำหรับตัวของซาวด์บาร์สนนราคาอยู่ที่ 5,490 บาท ขณะที่หูฟังมีราคาอยู่ที่ 3,490 บาท ถือว่าเป็นราคาที่หากใครชื่นชอบคู่หูสายฟ้าไม่ควรพลาด
ข้อดี
– งานออกแบบที่ผสมผสานพิคาชูลงมาในอุปกรณ์ได้อย่างลงตัว
– วัสดุที่ใช้งานมีการเก็บรายละเอียดและทนทานต่อการใช้งาน
– ซาวด์บาร์มาพร้อมกับไดรเวอร์ที่ครบถ้วนไม่ต่างจากลำโพงที่ใช้งานกันจริง
– ไฟแสดงผล RGB ที่แยกโซนได้
– รองรับการใช้งานทั้งแบบ USB-C และ Bluetooth
– หูฟังปรับระดับได้ครอบคลุมกับผู้ใช้งาน
– Earpad มีความนุ่มเนื่องจากใช้งาน memory foam
– พื้นที่แสดงผลของไฟ RGB ทำออกมาได้ลงตัว
– ไมโครโฟนให้คุณภาพเสียงที่ดีตัดเสียงรบกวนภายนอกได้ครบ
ข้อสังเกต
– ราคาค่อนข้างสูงหากเทียบกับรุ่นพื้นฐานที่ไม่ได้คอลแลปหากใครสนใจและไม่ได้เป็นแฟนคลับพิคาชูสามารถเลือกรุ่นปกติได้
– ซาวด์บาร์ไม่มีแบตเตอรี่ในตัวทำให้ต้องหาแหล่งจ่ายพลังงานที่จะลดทอนประสิทธิภาพของตัวเครื่อง หากกำลังไฟไม่ดีพอ
– ตัวเลือกการปรับแต่งของหูฟังในแง่ของเสียงค่อนข้างน้อย
สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทาง Razer ประเทศไทยที่ได้ทำการส่ง Razer Leviathan V2 X และ Razer Kraken V3 X Pokemon Edition มาให้เราได้ทำการทดสอบใครที่สนใจสามารถหาซื้อได้แล้ววันนี้ตามช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ และร้านค้าไอทีชั้นนำทั่วไป
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสั่งซื้อสินค้าได้ที่ :[คลิก]
RAZER LEVIATHAN V2 X POKEMON EDITION – เกมมิ่งซาวด์บาร์:[คลิก]
RAZER KRAKEN V3 X POKEMON – หูฟังเกมมิ่งรุ่น POKEMON Limited:[คลิก]
Razer Kraken V3 X Razer Leviathan V2 X